
การเขียนโปรแกรม หมายถึง กระบวนการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกำหนดโครงสร้างของข้อมูลและกำหนดขั้นตอนวิธี เพื่อใช้แก้ปัญหาที่ได้ออกแบบไว้ โดยอาศัยหลักเกณฑ์การเขียน โปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละภาษา การเขียนโปรแกรมมี 3 แบบ ได้แก่ การเขียนโปรแกรมโครงสร้าง (Structure Programming) การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-oriented Programming : OOP) และการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพ (Virus Programming) ซึ่งการเขียนโปรแกรมแต่ละแบบมีแนวคิด และวิธีการเขียนโปรแกรมงานอย่างง่ายแตกต่างกันไป
การเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง การเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง (Structure Programming) ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ ในการเขียนโปรแกรมมีให้เลือกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาชี ภาษาจาวา ภาษาเดลไฟล์ ผู้เขียนโปรแกรมอาจใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้ในการเขียนโปรแกรมตามลักษณะของปัญหาความสามารถ และความถนัดของตนเอง ซึ่งแต่ละภาษาก็จะมีรูปแบบคำสั่งและหลักการในการเขียนโปรแกรมที่แตกต่างกัน สำหรับภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง ซึ่งเป็นวิธีการเขียนแบบดั้งเดิม เช่น ภาษาปาสกาล ภาษาชี จะมีโครงสร้างในการเขียนโปรแกรม 3 แบบ ได้แก่ โครงสร้างแบบลำดับ (Sequential Strcture) โครงสร้างแบบมีทางเลือก (Selection Structure) และโครงสร้างแบบทำซ้ำ (Repetition Structure) ถึงแม้ว่าปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเปลี่ยนไป แต่แนวคิดเกี่ยวกับวิธีการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้างก็ยังเป็นความรู้พื้นฐานในการเขียนโปรแกรมแบบสมัยใหม่อย่างการเขียนโปรแกรม มีรายละเอียดดังนี้
1. โครงสร้างแบบลำดับ (Sequential Structure) เป็นโครงสร้างที่แสดงขั้นตอนการทำงานที่เรียงเป็นลำดับก่อนหลัง จากคำสั่งที่ 1 ไปคำสั่งที่ 2 ต่อไปจนถึงคำสั่งสุดท้ายและแต่ลพคำสั่งจะมีการประมวลผลเพียงครั้งเดียวเท่านั้น การเขียนโปรแกรมโครงสร้างแบบลำดับ จึงเป็นการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุด
2. โครงสร้างแบบมีทางเลือก โครงสร้างแบบมีทางเลือก ( Selection Structure ) เป็นโครงสร้างที่มีการตรวจสอบเงื่อนไขในการตัดสินใจ แบ่งออกเป็นโครงสร้างแบบมีทางเลือก 2 ทางเลือก หรือโครงสร้างแบบ If…Then…Else และโครงสร้างแบบมีทางเลือกมากกว่า 2 ทางเลือก หรือโครงสร้างแบบ Case
3. โครงสร้างแบบซ้ำ (Repetition structure) เป็นโครงสร้างที่มีการสั่งให้ทำงานชุดคำสั่งนั้น ในลักษณะวนซ้ำหลายๆรอบ โดยมีการตรวจสอบเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจว่าจะทำซ้ำรอบต่อไปหรือเลิกทำซ้ำ โครงสร้างแบบทำซ้ำ มี 2 แบบ ได้แก่
 3.1 การทำซ้ำตราบเท่าที่เงื่อนไขเป็นจริง หรือการทำซ้ำแบบ Do While การทำซ้ำแบบนี้ตะทำงานตามชุดคำสั่งที่ต้องการให้ทำซ้ำ แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะเลิกการทำซ้ำ โดยแต่ละรอบจะต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนทำงานเสมอ
 3.2 การทำซ้ำจนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง หรือการทำซ้ำแบบ Do Unit การทำซ้ำแบบนี้จะทำงานตามชุดคำสั่งที่ต้องการใช้ซ้ำไปอย่างน้อย 1 รอบก่อน จึงจะมีการตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ จะทำงานตามชุดคำสั่งซ้ำอีก 1 รอบ แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะเลิกการทำซ้ำ ในการเขียนโปรแกรมโครงสร้างแบบทำซ้ำ จะพบว่าเงื่อนไขที่ใช้ในการตัดสินใจของการทำซ้ำแบบ Do While และการทำซ้ำแบบ Do Unit จะมีเงื่อนไขที่ตรงข้ามกัน ส่วนการที่จะเลือกเขียนโปรแกรมโครงสร้างซ้ำ Do While หรือ Do Unit ก็ขึ้นอยู่กับว่างานนั้น ต้องการให้มีการตรวจสอบเงื่อนไขก่อน ทำงานในรอบแรก หรือว่าต้องการให้มีการทำงานอย่างน้อย 1 รอบก่อนจึงค่อยตรวจสอบเงื่อนไข
https://sites.google.com/site/31026nachaphon/hna-91
|